ข้ามไปเนื้อหา

ไอนาร์ แฮร์ตสปรอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไอนาร์ แฮร์ตสปรอง
ไอนาร์ แฮร์ตสปรอง (ซ้าย) กับ คาร์ล ชวาทซ์ชิลท์ (ขวา) ในปี 1909 ที่หอดูดาวเกิททิงเงิน
เกิด8 ตุลาคม ค.ศ. 1873(1873-10-08)
ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน
เสียชีวิต21 ตุลาคม ค.ศ. 1967(1967-10-21) (94 ปี)
ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก รอสกิลด์
สัญชาติธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโคเปนเฮเกน
มีชื่อเสียงจากแผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิล
รางวัลเหรียญรางวัลบรูซ (ปี 1937)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี, ดาราศาสตร์
สถาบันที่ทำงานหอดูดาวไลเดิน

ไอนาร์ แฮร์ตสปรอง (Ejnar Hertzsprung, ภาษาเดนมาร์ก: [ai̯nɐ ˈhæɐ̯t͡spʁɔŋ]; 8 ตุลาคม 1873 – 21 ตุลาคม 1967) เป็นนักดาราศาสตร์ ชาวเดนมาร์ก มีชื่อเสียงจากการคิดแผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิล ร่วมกับเฮนรี นอริส รัสเซิล

ชีวประวัติ

[แก้]

เขาเกิดในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโคเปนเฮเกน เขาก็ทำงานเป็นเวลาหลายปีในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ศึกษาเคมีการถ่ายภาพกับ วิลเฮล์ม ออสท์วัลท์ ในเมืองไลพ์ซิช จากนั้นจึงเริ่มการศึกษาดาราศาสตร์ ในปี 1909 เขาได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์ที่หอดูดาวเกิตทิงเงิน ซึ่งนำโดยคาร์ล ชวาทซ์ชิลท์[1] และในปี 1919 เขาได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และผู้อำนวยการหอดูดาวที่มหาวิทยาลัยไลเดน

ในปี 1905 เขาค้นพบว่ามีดาวหลายประเภท เช่น ดาวยักษ์และดาวแคระ แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างโชติมาตรสัมบูรณ์ของดาวและแผนที่การแจกแจงของประเภทสเปกตรัม ในปี 1913 เขาได้คำนวณระยะทางไปยังเมฆแมเจลแลนเล็ก จากความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาแปรผันและความสว่างของดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิดที่ค้นพบโดยเฮนริเอ็ตตา สวอน เลวิต[2] แม้ว่าระยะทางจะถูกประเมินต่ำไปเนื่องจากการดูดซับโดยตัวกลางระหว่างดวงดาว แต่นี่เป็นครั้งแรกมีการวัดได้

ในปี 1929 เขาได้รับเหรียญทองจากสมาคมดาราศาสตร์หลวงของอังกฤษ และในปี 1937 เขาได้รับเหรียญรางวัลบรูซ

เขาค้นพบดาวเคราะห์น้อยสองดวงคือ 1627 อีวาร์ และ 1702 คาลาฮารี[3] และชื่อของเขายังถูกตั้งเป็นชื่อดาวเคราะห์น้อย 1693 แฮร์ตสปรอง[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hellyer, B. (October 1973). "Ejnar Hertzsprung, 1873–1967". Journal of the British Astronomical Association. 83: 460–461. Bibcode:1973JBAA...83..460H.
  2. Hertzsprung, E. (1913). "Über die räumliche Verteilung der Veränderlichen vom δ Cephei-Typus" [On the spatial distribution of variable [stars] of the δ Cephei type]. Astronomische Nachrichten (ภาษาเยอรมัน). 196 (4692): 201–208. Bibcode:1913AN....196..201H.
  3. "Minor Planet Discoverers". MPC. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
  4. Schmadel, Lutz D. (2003). "(1693) Hertzsprung". Dictionary of Minor Planet Names – (1693) Hertzsprung. Springer Berlin Heidelberg. p. 135. doi:10.1007/978-3-540-29925-7_1694. ISBN 978-3-540-29925-7.